หน้าแรกเลขเด็ด หวยดังเลขเด็ด ได้โชค จากไอ้ไข่ กลับมาจุดประทัด

เลขเด็ด ได้โชค จากไอ้ไข่ กลับมาจุดประทัด

งวดที่แล้วโชคดีครับ สาวกลับมาจุดประทัดขอพร “ไอไก่” ได้ “เลขเด็ด” 1/3/67

ผู้โชคดีจะได้รับ เลขเด็ด สามตัวติดต่อกัน กลับมาจุดประทัด 10,000 จุด วัดสนามไชย ขอพร “อ้ายไข่” รับ “เลขเด็ด” 1/3/67 กลับไปลองเสี่ยงโชคของคุณ

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดสนามไชย ถนนตลาดหลวง อำเภอเมือง จังหวัดอ่างทอง พบหญิงวัย 51 ปี ชาวนนทบุรี จุดประทัด 10,000 จุดเพื่อขอพรหลังการประชุมครั้งก่อน บูชา “อ้ายไก่”. ฉันโชคดีถูกรางวัลลอตเตอรีสามตัวโดยตรง หากต้องการโชคลาภก้อนโตอย่าพลาดชมเลข 415 และ 96 ที่ปลายประทัด แล้วกลับไปลองเสี่ยงโชคในงวดหน้า

ส่วน “อ้ายไข่” แห่งวัดสนามชัย พระครูปลัด สมหวัง ญาณสัมปันโน ได้นำผงธูปจากกระถางธูปมาจากอัยไข่บุตรแห่งวัดเจดีย์ นครศรีธรรมราชชวนทำแม่พิมพ์อ้ายไข่ หลังจากได้รับเชิญให้ไปพักที่วัดสนามไชยแล้วก็มีการขอสักการะกันอย่างต่อเนื่อง และยังมีพลังนำความโชคดีมาสู่เลขท้ายประทัดอย่างต่อเนื่อง ชาวบ้านและนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปแสดงความเคารพและขอพรให้โชคดีได้ หลังจากจุดประทัดเพื่อขอพรมากมายให้เป็นจริงแล้ว ให้นำรูปปั้นไก่ต่อสู้ เครื่องแบบทหาร หนังสติ๊ก ปอเปี๊ยะ และของเล่นต่างๆ เพื่อเป็นเกียรติแก่คำสาบาน

ประวัติไอ้ไข่และตำนานไอ้ไข่

ในสมัยอยุธยาเป็นราชธานี สมเด็จพะโค๊ะเจ้า ได้เสด็จจาริกธุดงค์ และมาปักกรด ณ วัดแห่งหนึ่ง ณ เมืองอลอง (ต.ฉลอง อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช ในปัจจุบัน) ซึ่งตามบันทึกของประวัติเมืองอลอง (ALONG) (ชื่อตามแผนที่เดินเรือสินค้าของโปรตุเกตได้บันทึกไว้) เมื่อพระสมเด็จเสด็จออกจากวัดไป ทางชาวบ้านละแวกนี้ ได้สร้างเจดีย์ครอบที่ปักกรดเอาไว้เพื่อสักการะบูชา และได้เรียกขานวัดแห่งนี้ว่าวัดโพธิ์เสด็จ และชุมชนโพธิ์เสด็จ ตามนิมิตหมายที่ดีว่ามีสมเด็จพะโค๊ะเจ้า ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นพระโพธิ์สัตว์เสด็จมา

เด็กวัดตามคำบอกเล่ามีสองนัยยะ ว่าเป็นเด็กวัดโพธิ์เสด็จ หรืออาจจะเป็นเด็กที่ติดตามสมเด็จพะโค๊ะเจ้ามา โดยเด็กวัดมีหน้าที่คอยปรนนิบัติรับใช้ดูแลสมเด็จพะโค๊ะเจ้า และเมื่อสมเด็จพะโค๊ะเจ้า จะออกเดินทางจาริกธุดงค์ต่อ เด็กวัดก็ขอติดตามไปด้วย แต่สมเด็จพะโค๊ะเจ้า บอกว่าให้อยู่เฝ้าวัดแห่งนี้ ซึ่งเด็กวัดเลยตกปากรับคำว่าจะอยู่เฝ้าวัดแห่งนี้ ไม่ไปไหน จนจบอายุไขโดยไม่ระบุสาเหตุ

เด็กวัด แม้ร่างจะสลายไปแล้วแต่ยังคงเหลือจิตวิญญาณ คอยหวงแหนดูแลวัด ไม่ยอมไปไหน บางครั้งผู้คนที่คิดมิดีมิร้ายทำลายวัดร้าง ที่มาขุดเจาะเพื่อปรารถนาหาของมีค่าเด็กวัดก็จะปรากฏกายให้เห็น จนวิ่งหนีหัวซุกหัวซุน ถึงกับไข้จับสั่นผมเผ้าหลุดหัวโขนก็มี แต่จะคอยช่วยเหลือผู้ศรัทธาที่มาบนบานศาลกล่าวขอความช่วยเหลือยามเดือดร้อน เช่น ของหาย สัตว์เลี้ยงสูญหาย เฝ้าหนู ค้างคาวตามเรือกสวนไร่นาไม่ให้มากัดกินพืชผล ซึ่งผู้ศรัทธาที่ได้บนบานเอาไว้ ก็จะมาแก้บนให้ตามสัญญา สำหรับของแก้บนที่เห็นในสมัยนั้นส่วนมากจะมีธงสามสีถวายท่านพระพุทธพ่อท่านเจ้าวัด และ ปางนู (หนังสติ๊ก) ให้เด็กวัด

อีกหนึ่งตำนาน กล่าวไว้ว่า ย้อนกลับไปยังสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย หลวงพ่อทวด พระเถระผู้เปี่ยมด้วยญาณบารมี ได้เดินทางไปยังกรุงศรีอยุธยา ในการนั้นท่านได้นำพาเด็กชายผู้หนึ่ง อายุราว ๙ ถึง ๑๐ ขวบ มาด้วย หมายใจให้คอยปรนนิบัติรับใช้ เมื่อเดินทางมาถึงยังฐานถิ่นวัดเจดีย์ ก็หยุดรั้งรอหมายพบเจอสหธรรมิก ครั้งศึกษาพระธรรมยังเมืองนครศรีธรรมราช นามว่า ขรัวทอง ผู้เป็นสมภารวัด หมายสนทนาพาทีด้วยจิตอันเป็นไมตรีต่อกัน ดังมีหลักฐานนามถิ่น บ้านโพธิ์เสด็จ ไว้เป็นประจักษ์พยานว่า กาลหนึ่งพระโพธิญาณ (หลวงพ่อทวด) ได้เดินทางมายังธรรมสถานแห่งนี้ ด้วยญาณแห่งพระผู้มีบารมี จึงรับรู้ได้ว่าในภายภาคหน้า สถานที่แห่งนี้จะเป็นหลักสำคัญแห่งพระพุทธศาสนา จึงบอกเด็กชายผู้คอยติดตามว่า “เจ้าจงอยู่ที่นี้เถิด จะก่อเกิดผลดีศรีสดใส ในภายภาคหน้านั้นต่อไป จะเป็นหลักชัยในทางธรรม” เด็กชายรับปากพระอาจารย์ แล้วตั้งสัตย์ปฏิญาณ ตามพระอาจารย์สั่ง หลวงพ่อทวด จึงฝากเด็กชายไว้กับ ขรัวทอง เด็กชายกลายเป็นเด็กวัดเจดีย์ คอยอยู่รับใช้สมภาร และดูแลวัดเจดีย์ ดังในตำนานเมืองนครศรีธรรมราช

ได้กล่าวถึง เหตุการณ์ครั้นเจ้าพระยาคืนเมือง มีท้องตรามายังเมือง “อลอง” (ต.ฉลอง ในปัจจุบัน) มีบันทึกว่า “มาถึงเมืองอลอง แวะพักหนึ่งคืน นมัสการสมภารทอง มีศิษย์เกะกะชื่อไอ้ไข่เด็กวัด..” แต่ถึงจะเป็นเด็กเกะกะซุกซน แต่เด็กชายก็เปี่ยมด้วยอนุภาพพิเศษ แปลกแตกต่างจากเด็กทั่วไป ชอบช่วยเหลือผู้คน หากใครมีปัญหาที่หมดปัญญาที่จะแก้ไข เป็นต้องมาออกปาก (ไหว้วาน) ทุกคราไป จึงไม่มีใครเกียดชังถึงจะซุกซนเกเร

ด้วยเป็นเด็กที่จริงจัง ทั้งวาจา และจิตใจ รับปากใครแล้วเป็นต้องทำให้ได้ ถึงจะเป็นอันตรายก็ตาม ว่ากันว่าควายตัวไหนพยศ หากเด็กวัดจับหางติดจะไม่ปล่อยเป็นเด็ดขาด ถึงควายจะวิ่งอย่างไร จนควายตัวนั้นต้องละพยศหมดฤทธิ์ เมื่อเวลาล่วงผ่านไป ด้วยจิตอันแสดงถึงอนุภาพพิเศษ ก็รับรู้ได้ว่าพระอาจารย์ (หลวงพ่อทวด) กำลังจะเดินทางกลับจากกรุงศรีอยุธยา

ด้วยกลัวว่าหากพระอาจารย์กลับมาถึง จะนำพาตนกลับสู่ถิ่นฐานที่จากมา ด้วยคำสั่งของพระอาจารย์ที่สั่งให้เฝ้า และดูแลรักษาวัดเจดีย์ และด้วยสัจจะวาจาที่ได้ให้ไว้ เด็กชายจึงเดินลงสระน้ำภายในวัด เป็นการปลดชีวิตตัวเอง ตามภาษาทางศาสตร์ เรียก การเสด็จ หมายสละร่างเหลือไว้แต่ดวงจิตวิญญาณ ไว้คอยปกปักษ์รักษาวัดเจดีย์ สืบมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน

ตำนาน ไอ้ไข่ ศิษย์ หลวงพ่อทวด จาก ท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช ชาวชุมชนวัดเจดีย์ และใกล้เคียง นับถือเคารพ “ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์” ตั้งแต่สมัยบรรพชน สืบทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น นับย้อนหลังไปเป็นเวลาหลายร้อยปี โดยถือว่า “ไอ้ไข่” คือ วิญญาณของเด็กศักดิ์สิทธิ์ ที่คอยช่วยเหลือชาวชุมชน และดูแลปกปักษ์รักษาวัดเจดีย์ ไม่ได้มีการสืบค้น หรือมีการกล่าวถึงตำนาน แต่นับถือกันอย่างนั้นมา จนวันหนึ่งได้เกิด ตำนาน ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์ ศิษย์ หลวงพ่อทวด

จากบุคคลสำคัญ นั่นก็คือ จอมขมังเวทย์แห่งเมืองนครศรีธรรมราช ท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช ที่ได้รับฟังถ้อยคำจาก หลวงพ่อทวด ผ่านร่างทรง เมื่อครั้งสมัยจัดสร้าง เหรียญหลวงพ่อทวด เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๗ (เนื่องจาก ท่านขุนพันธ์ เป็นผู้มีส่วนร่วมในการจัดสร้างพระชุดนั้นด้วย) หลวงพ่อทวด ถามผ่านร่างทรงว่า ท่านมาจากนครศรีธรรมราช ท่านรู้จักลูกศิษย์เราหรือไม่ เป็นเด็กวัดอยู่ทางทิศเหนือ ของนครศรีธรรมราช ท่านขุนพันธ์ จึงสืบหาจนมาประสบพบเจอ กับ ผู้ใหญ่เที่ยง เมืองอินทร์ จนได้นับถือเป็นสหาย แลกเปลี่ยนสายวิชากัน ด้วย ผู้ใหญ่เที่ยง เองก็มีส่วนเกี่ยวข้อง และรู้จัก “ไอ้ไข่” เป็นอย่างดี ท่านขุนพันธ์ จึงได้เจอ กับ ลูกศิษย์หลวงพ่อทวด ที่วัดเจดีย์ นามว่า “ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์” ตามคำบอกกล่าวของ หลวงพ่อทวด ผ่านร่างทรง ซึ่งเป็น “ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์” ที่บรรพบุรุษชาวชุมชนวัดเจดีย์ นับถือสืบกันมา และ ท่านขุนพันธ์ เองก็ได้สืบค้นศึกษา จนกลายมาเป็นตำนาน ไอ้ไข่ ศิษย์ หลวงพ่อทวด และได้ยึดถือตำนานนี้บอกเล่าสืบต่อกันมาจึงถือว่า ท่านขุนพันธรักษ์ราชเดช คือ ผู้สืบค้นตำนานนี้เป็นคนแรก

ปฐมบท พ่อท่านเจ้าวัด กับ เด็กวัด จากบันทึก และคำบอกเล่า เห็นเด็กเปลื้องผ้าวิ่งเข้าออกในพระพุทธโบราณ นามเรียกว่า พ่อท่านเจ้าวัด จนเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านละแวกวัดเจดีย์ และบนบานศาลกล่าวกันว่า พ่อท่านเจ้าวัด และ เด็กวัด (ตามด้วยเรื่องที่บนบาน หรือเรื่องที่ขอให้ช่วยเหลือ) ด้วยแต่ก่อนท้องถิ่นแห่งนี้ ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เลี้ยงวัว เลี้ยงควาย เมื่อวัวใครหาย ควายใครสูญ ก็จะบนบาน เด็กวัด ให้ช่วยทุกคราไป ในสมัยนั้นวัดเจดีย์ยังคงสภาพวัดร้าง เป็นป่ารกชัน ชาวบ้านก็ได้แต่เอ่ยชื่อ ไม่ได้มีรูปเคารพแม้แต่อย่างใด เมื่อสิ่งที่ขอ หรือบนบานสำเร็จ ก็จะแก้บนด้วยธงทิว ถวาย พ่อท่านเจ้าวัด ปางหนังสติ๊ก ถวาย เด็กวัด จนล่วงผ่านสมัยมาถึงยุคของ ผู้ใหญ่เที่ยง เมืองอินทร์ ฉายา เที่ยง หักเหล็ก จอมขมังเวทย์แห่งตำบลฉลอง มีวิชาโดดเด่นทางด้านการหักเหล็กด้วยมือเปล่า อีกทั้งยังมีวิชาไสยเวทย์อีกมากมาย ได้แกะรูปเคารพเป็นรูปร่างเด็กชาย ด้วยไม้ทองหลางไว้ให้ชาวบ้านได้กราบไว้บูชา และแก้บน ด้วยไม้ทองหลางเป็นไม้เนื้ออ่อน รูปเคารพ เด็กวัด จึงผุพังไปตามกาลเวลา

ด้วยความชราภาพ ผู้ใหญ่เที่ยง ก็เว้นจากการแกะไม้รูปใหม่ จนอยู่มาคืนหนึ่ง ผู้ใหญ่เที่ยง ได้ฝันไปว่ามีเด็กแก้ผ้ามาบอกในความฝัน “ช่วยแกะไม้ใหม่ให้เราหน่อย” ในความฝัน ผู้ใหญ่เที่ยง ได้ถามไปว่า “นั่นใครละที่มาบอกให้ช่วยแกะไม้ให้” เด็กแก้ผ้าตอบมาว่า “ เราคือไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์” ผู้ใหญ่เที่ยง จึงไปนำไม้ตะเคียนคู่ (ตะเคียนขาเกียบ) บริเวณวัดพระโอน (วัดร้างใกล้บ้าน) มาแกะขึ้นรูปเป็นรูปเด็กแก้ผ้า มือขวากำมัดยกขึ้นวางตรงหน้าอก มือซ้ายถึงมือแนบลำตัว เสร็จแล้วก็นำใส่รถเข็น นำมาไว้ที่วัดเจดีย์ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ (เริ่มแกะ ตอนปลาย พ.ศ. ๒๕๒๔) และได้ปรึกษา พ่อท่านเทิ่ม (เจ้าอาวาสวัดเจดีย์ ในสมัยนั้น) ว่าน่าจะตั้งชื่อให้ เด็กวัด ได้มีชื่อมีนามเรียกกัน พ่อท่านเทิ่ม จึงถามว่า จะให้ชื่ออะไรดี ผู้ใหญ่เที่ยง จึงบอกไปว่าให้เรียก ไอ้ไข่ จากนั้นเป็นต้นมา เด็กวัด ก็เปลี่ยนชื่อเรียกเป็น ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์ ตราบจนปัจจุบันนี้ และได้ประกอบพิธีเรียกรูปเรียกนาม เรียกดวงจิตวิญญาณมาสถิตย์ โดย ผู้ใหญ่เที่ยง ในคราวเดียวกับ การปลุกเสกเหรียญ “ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์” (รุ่นแรก) เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖

ด้วยบารมี ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์ จากวัดร้างห่างผู้คน สู่วัดที่มีความเจริญรุ่งเรือง จากศรัทธาท้องถิ่น สู่ศรัทธามหาชน จากเทพประจำถิ่น สู่เทพระดับนานาชาติ ก็ด้วยบารมี ของ ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์ จากเด็กไล่วัว หาควายหาย ของคนในท้องถิ่น มาเป็นเทพผู้ให้ความช่วยเหลือ มนุษย์ผู้ตกอยู่ในห้วงแห่งความทุกข์จากทั่วสารทิศ ทั้งในประเทศ รวมถึงจากต่างชาติ ต่างแดน ยังมาขอพึ่งบารมีของเด็กวัดผู้นี้

ตั้งแต่ก่อนมาจนถึงทุกวันนี้ ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์ ได้ผ่านกาลสมัยมาเป็นหลายร้อยปี กลายเป็นประวัติศาสตร์ท้องถิ่นอันดีงาม ของชาวชุมชน ต.ฉลอง และพื้นที่ใกล้เคียง ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์ ได้ฝังอยู่ในรากเหง้า เปรียบเสมือนบรรพบุรุษของชาวชุมชน ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์ ไม่เลือกชนชั้น ไม่เลือกวรรณะ ไม่ว่าคุณคือใคร ขอแค่คุณบอกกล่าวมา ขอแค่คุณมีจิตอันเป็นศรัทธา ขอแค่คุณเป็นผู้ปฏิบัติดี บารมี ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์ พร้อมที่จะคุ้มครอง พร้อมที่จะช่วยเหลือทุกผู้ทุกคน ดังนิยามที่เรียกขานกันว่า ขอได้ ไหว้รับ

ดังจะเห็นประจักษ์พยานได้จาก การพัฒนาวัด ทั้งการสร้างอุโบสถ วิหาร เสนาสนะ พัฒนาสาธารณูปโภค การขยายที่ดิน เพื่ออำนวยความสะดวก เพื่อต้อนรับผู้มีจิตศรัทธาที่เดินทางมากราบไหว้ ขอพร จากทั่วทุกมุมของประเทศ อีกยังสร้างรายได้ให้ชาวชุมชน  ตลอดถึงจังหวัดนครศรีธรรมราช กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยงทางด้านความเชื่อความศรัทธาสำคัญ อีกแห่งของจังหวัดนครศรีธรรมราช รวมถึงสิ่งที่แสดงให้เป็นถึงพลังศรัทธาสาธุชน

อย่างเช่น กองประทัดกองใหญ่ ไก่เต็มลานวัด เสียงประทัดสนั่นทั้งวัน ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดขึ้นได้ ล้วนก่อเกิดมาจาก พลังศรัทธา ของผู้ศรัทธาที่มีต่อ เด็กชาย ผู้คอยดูแล ปกปักษ์รักษาวัดเจดีย์ จากอดีตกาล จนถึงปัจจุบัน เด็กน้อยผู้มีแต่ความเมตตา เด็กน้อยผู้รักษาสัจจะวาจา นามว่า ไอ้ไข่เด็กวัดเจดีย์ แทบทั้งสิ้น

ที่มาของประวัติ : วัดเจดีย์ไอ้ไข่.net

RELATED ARTICLES

Most Popular

Recent Comments